ทำไมเราต้องซื้อระบบเข้ามาใช้งาน

By | 20 ตุลาคม 2022

ร้านของคุณเป็นร้านอะไรครับ

วัสดุก่อสร้าง  โรงหลังคาเหล็ก ร้านกระจกอลูมิเนียม ร้านมินิมาร์ท ร้านค้าปลีกส่ง

ร้านสวัสดิการในโรงเรียน/บริษัท โรงรับซื้อขยะรีไซเคิล ร้านยางรถยนต์ ร้านเกษตร …

ซึ่งในปัจจุบันการขายใช้วิธีเขียนบิลใช่ไหมครับ

สิ้นวันมาสรุปในสมุดหรือ excel เพื่อตรวจสอบ และหลายๆ ร้านไม่ได้ทำอะไร

นอกจากนับเงินเสร็จก็จบ

หากพูดถึงสต็อกสินค้าไม่เคยนับเลย

หรือบางร้านนับเฉพาะของที่มีราคา หายง่าย เท่านั้น

 

ปัญหาที่ส่วนใหญ่จะพบคือ

1.อยากรู้กำไร

ทำมาหลายปี กำไรขั้นต้น = ไม่รู้  หรือ ต้องใช้เวลาในการรู้

รวมถึงต้นทุนในการดำเนินงาน เช่น ค่าแรง ค่าน้ำมัน ค่าซ่อมรถ วัสดุสำนักงาน

ก็ไม่ได้บันทึก

ทำให้คุณไม่มีค่าใช้จ่ายไปหักกำไรขั้นต้น = ไม่รู้กำไรสุทธิ

” ไม่เป็นไร ดูเงินในบัญชีก็มีเงินเหลือ แสดงว่า กำไร ”

( แต่น่าจะเคยพบว่า บางเดือนเงินที่เหลือมันน้อยจนต้องขอ OD เพิ่มไหมครับ ? )

 

เมื่อคุณมีระบบใช้งาน

ตัวอย่าง ร้านวัสดุก่อสร้างที่ใช้โปรแกรม conmat แห่งหนึ่งที่ภาคใต้ เป็นคนหนุ่มวัย 26 ปี (รุ่น2)

มีพนักงานขาย 5 คนเขียนบิลมือ

เมื่อใช้ระบบทำให้รู้ชัดว่า ร้านมีกำไรเท่าไรกันแน่

ผ่านไป 3-4 ปี เจ้าของต้องการเงินลงทุนกับธุรกิจรับเหมา

ก็ใช้ข้อมูลจากระบบไปยื่นกู้ bank ได้

 

( ส่วนตัวผู้เขียนก็ใช้โปรแกรมร้านวัสดุฯ

มาบันทึกรายรับรายจ่าย

แล้วก็ยื่นกู้ bank มา 3 รอบแล้วเช่นกันครับ )

 

2.สต็อกสินค้า

” ไม่รู้เลย เพราะไม่เคยนับ ”

” รู้สิ แต่รู้เฉพาะบางตัวที่ซีเรียส เช่น เหล็กรูปพรรรณต่างๆ ”

( ถ้าเป็นรีไซเคิลก็รู้สต็อกเฉพาะของแพง เช่น ทองแดงเบอร์ 1-4 )

ถาม :  ถ้าคุณมีลูกน้องเป็นมดงานที่กินน้อยๆ อย่างสม่ำเสมอ เนียนๆ

ทยอยเอาไป หรือ

ลูกน้องซื่อสัตย์ทุกคน แต่เวลาขึ้นของมีสะเพร่า ขึ้นเกินบ้าง

จะตรวจสอบให้พบอย่างรวดเร็ว และ เสียหายน้อยได้อย่างไร?

 

ผมมีเคสที่ร้านวัสดุก่อสร้าง หลายร้านที่ขึ้นเกินแบบสะเพร่า

และ “จงใจ” ทุจริตกับช่างที่มาซื้อของเลยครับ

มันทำจนเคยชิน จนมีระบบเข้ามานับสต็อก

ไม่นานเรื่องก็แดง จับได้ เพราะตรวจสอบจากระบบก็เห็นว่า

ของหายไปผิดปกติ

 

เมื่อคุณมีระบบใช้งาน

ลูกค้าร้านวัสดุถาม ” มีเหล็ก GI 1*1 1.2มม. สัก 300 เส้นไหม

คุณตอบได้ทันที

ลูกค้าร้านเกษตรถาม “ขอซื้อหัววัว 15-15-15  สัก 100 กส.

คุณก็ตอบได้ทันทีครับ

 

 

3.Dead stock = สินค้าค้างสต็อก

เราไปติดตั้งระบบให้ร้านค้าวัสดุแห่งหนึ่งที่โคราช

ขณะขอเดินชมร้าน  ได้ชี้ไปที่กระเบื้องที่กองอยุ่ ซึ่งดูเก่าแล้วถามว่า อยู่มานานหรือยัง

“ตั้งแต่ก่อนพวกผมแต่งงานกัน ก็น่าจะสัก 2-3 ปีมั้งครับ ป๊ากับหม้า ยังเก็บไว้อยู่”

นี่เป็นตัวอย่าง dead stock ชัดๆ

 

เมื่อคุณมีระบบใช้งาน

ตัวอย่าง ร้านในภาคเหนือตอนล่าง  ใช้ระบบแล้วให้คัดกรองสินค้า dead stock นี้

โดยไปที่รายงานสินค้าไม่เคลื่อนไหว แล้วกำหนดเงื่อนไขจำนวนวัน

ซึ่งกระเบี้องหลายรุ่นเป็นพระเอกนำทีมมาทีเดียว

ก็สั่งลูกน้องยกไป sale ขายหน้าร้านเลย

จังหวะเราแวะเยี่ยมก็ได้ข้อมูลว่า

“ยอมขายเท่าทุนบ้าง ต่ำกว่าทุนบางตัวที่มันมีน้อย

แต่กลับขายปูนยาแนว และสินค้าอื่นๆ ไปด้วย ทำให้ยอดขายดีขึ้น

มีที่ว่างเอาของอื่นมาขายเพิ่ม”

 

 

4.ไม่ซื้อของซ้ำ + จุดสั่งซื้อ

ขณะที่เรากำลังสอนเจ้าของใช้งานโปรแกรมร้านค้าวัสดุก่อสร้าง

มีรถขนส่งมาส่งสินค้า  เจ๊เห็นของที่ลูกน้องsupplier

แบกเข้ามาแล้วขมวดคิ้วทันทีพร้อมตะโกนถามทันที

“ทำไมมาส่งซ้ำล่ะ อาทิตย์ก่อนก็มาส่งแล้วนี่”

คนแบกของตอบ ” ก็เจ๊สั่งเพิ่มไปนี่ครับ”

สรุปคือ เจ๊สั่งสินค้าตัวเดิมซ้ำจริงๆ เพราะงานยุ่ง

งานทุกอย่างมารวมอยู่ที่เธอคนเดียว!!!

 

จะดีกว่าไหมครับ ที่เวลาสั่งของ ก็ไปบันทึกหน้าสั่งซื้อ

แล้วถ่ายรูปเอกสารส่งให้ sale ของ supplier

เวลาจะมาสั่งซื้ออีกก็เสียเวลาแค่คลิกและค้นดูว่า

ฉันสั่งไปแล้วหรือยัง รวมถึง ไปคลิกดูสต็อกก่อน

 

เครื่องมือที่จะช่วยในการสั่งของคือ จุดสั่งซื้อ

เช่น เหล็กกล่อง GI 1*1 1.2มม. ตั้งจุดสั่งซื้อไว้ที่ 20 เส้น

เมื่อสต็อก เท่ากับหรือน้อยกว่า 20 ระบบจะแสดงที่รายงานสินค้าถึงจุดสั่งซื้อ

ทำให้ก่อนซื้อของ คุณเพียงคลิกทีรายงานจุดสั่งซื้อ ก็จะไม่ต้องซื้อของซ้ำครับ

Loading