โปรแกรมร้านอลูมิเนียมกระจก : AluBiz

By | 1 มิถุนายน 2022

อลูมิเนียม

 

โปรแกรมร้านอลูมิเนียมกระจก : AluBiz

ออกแบบและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์

1.การขายอลูมิเนียม

1.1 ที่คิดราคาต่อเส้น หรือ
1.2 ความหนาเท่ากัน จับมัดมาชั่งน้ำหนัก (กก.) แล้วคิดเงินจากน้ำหนัก

2.รู้สต็อกทันที

ระบบสต็อกจะทำงาน real time
เช่น กล่องเรียบ 1.0 มิล อบขาว มีสต็อก 100 เส้น
ขายไป 20 เส้น  ระบบจะตัดเหลือ 80 เส้นทันที

3.ระบบบาร์โค้ด

บางร้านต้องการติดบาร์โค้ดสินค้าย่อย
เช่น กลอนสวิง กุญแจขอ รีเวท (กล่อง) จับเรียบ ซิลิโคน
เพื่อให้ขายได้เร็วขึ้นในชั่วโมงเร่งรีบ
และ ไม่ผิดตัว เพราะเวลาค้นหาด้วยชื่อ หากเผลอไปเลือกผิด
ราคาและสต็อกก็ผิดไปด้วย

4.ลูกหนี้

ช่าง ซื้อเงินเชื่อ
ลูกค้างานติดตั้ง ก็มีมัดจำบางส่วน
ต้องมาจัดการทำใบวางบิล / ตรวจสอบยอดหนี้ / รับชำระหนี้
ระบบจะช่วยทำให้จัดการได้เร็วและถูกต้อง

5.ค่าใช้จ่าย

มีหน้าจอให้บันทึก ค่าแรง ค่าน้ำมัน เลี้ยงข้าว
เพื่อให้เห็นยอดใช้จ่ายอื่นๆ ในการบริหารงาน

6.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat)

โปรแกรม AluBiz จะ ” ไม่มีระบบภาษี
แต่
จะมีโปรแกรมเสริมมาช่วยบริหารแวทซื้อขาย
คือ ” โปรแกรม InvController
เพื่อออกใบกำกับภาษีเต็มรูปสำหรับลูกค้านิติบุคคล
และอย่างย่อสำหรับทั่วไป

 

 

รายละเอียดโปรแกรมร้านอลูมิเนียมกระจก

สินค้า

1.กลุ่มสินค้า

การเพิ่มกลุ่มสินค้าอลูมิเนียม

 

การเพิ่ม เฟรมบน/ล่าง/ข้าง กล่องเรียบ/ร่อง ธรณี
จะต้อง “สร้างกลุ่ม” เพื่อใช้ในการ
1.ดูยอดขายตามกลุ่ม
2.นับสต็อกแยกตามกลุ่ม

บางร้านแยกตามยี่ห้อ เช่น
001 อลูมีเนียม TM
002 อลูมีเนียม SMS
003 อลูมีเนียม UAI

บางร้านแยกตามสี เช่น

001 อลูมีเนียม อบขาว
002 อลูมีเนียม ดำ
003 อลูมีเนียม ชา

ส่วนกลุ่มอุปกรณ์ก็ให้ตั้งแยกตามประเภท
เช่น
004 กุญแจ
005 กลอน
006 ล้อเลื่อน
007 มุ้ง
008 สี

รหัสของกลุ่ม โปรแกรมจะสร้างให้ auto 3 หลัก

รายงานcatalogสินค้า

 

2.สินค้า

หลังจากที่เพิ่มกลุ่มแล้วก็มาเพิ่มชนิดสินค้ากัน

 

การเพิ่มสินค้าอลูมิเนียม

 

สินค้า 1 ชนิด ตั้งราคาขายได้ 4 ระดับ คือ

A = ราคาลูกค้าทั่วไป

B = ราคาช่าง

C = ร้านค้าย่อยที่รับไปขายต่อ

D = สำหรับหน่วยงานรัฐ

แต่

ทางเราพบว่า ร้านอลูมิเนียมจะตั้งที่ราคา A เพียงราคาเดียว

แล้วเวลาขายค่อยไปลดท้ายบิล

หรือลดต่อหน่วยให้บางตัวครับ

เว้นบางร้านที่เน้นขายส่งก็ใช้ราคาได้ครบ 4 ระดับ

 

1.โปรแกรมสร้างรหัสสินค้าให้ ” auto  6 หลัก ”

2.admin เพิ่มสต็อกเองตรงๆ ได้ (ลูกน้องทำผ่านการซื้อเข้า)

3.กำหนด ” จุดสั่งซื้อ ” เพื่อเตือนผ่านรายงานสินค้าถึงจุดสั่งซื้อ

4.สินค้าที่มีบาร์โค้ดจากโรงงาน บันทึก เพื่อให้สแกนขายได้

5.ระบบ stockcard ตรวจการเข้าออก

 

 

ลูกค้า

ระบบจะสร้างรหัสให้ auto 5 หลัก

( = มีลูกค้าได้สูงสุด 99,999 คน แต่หากไม่พอเพิ่มภายหลังได้ )

 

การเพิ่มลูกค้า

 

ขาย

1.ระบบจะรันเลขที่บิล auto 7 หลัก

2.แสดงวงเงินที่ได้

3.รับชำระได้ 3 วิธี : เงินสด , เงินเชื่อ และ เงินโอน

4.เลือกขนาดบิลได้ 3 แบบ แต่ส่วนมากใช้กันที่ 9×11″

5.ทำบิลไม่แสดงราคาเพื่อใช้ส่งของ หรือ ช่างขอให้เจ้าบ้านแล้วไปบวกเพิ่มเอง

 

การขายอลูมิเนียม

 

ตัวอย่างบิล 

ใช้ขนาด 9×5.5″ เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่าง

 

บิลเงินเชื่อ

 

สำหรับงานติดตั้ง เช่น  บานประตูหน้าบริษัท  กั้นห้อง

ก็จะสร้างชื่อสินค้าเป็น “งานติดตั้ง” แล้วเวลาขายก็แก้ไขชื่อและราคาเอง

 

ขายงานติดตั้ง01

 

แน่นอนว่า งานรับติดตั้งจะมีมัดจำบางส่วนด้วย

ดังนั้นการชำระเงินจะต้องเลือกเป็นเงินเชื่อ+รับมัดจำ

รับมัดจำ

 

โปรแกรมจะเปลี่ยนเป็นหน้าจอ “รับชำระหนี้จากลูกหนี้” เพื่อมารับมัดจำกัน

 

รับมัดจำ2

 

เมื่อรับเสร็จก็ย้อนกลับมาพิมพ์บิลให้ลูกค้า

 

บิลรับมัดจำ

 

 

สต็อก

การตรวจสอบสต็อก (สินค้าคงเหลือ)  จะดูได้จากหลายหน้าจอ

1.ช่างมาสอบราคาและจำนวนก่อน จะดูที่หน้า catalog

 

catalog

 

2.เวลาขายแล้วค้นสินค้า ก็จะเห็นสต็อกทันที

 

ขายและค้น

 

3.จะตรวจนับสต็อกกันก็ไปพิมพ์ที่รายงานสินค้าคงเหลือได้

รายงานสินค้าคงเหลือ1

 

ตัวอย่างรายงานสินค้าคงเหลือ

รายงานสินค้าคงเหลือ2

ระบบสต็อกจะทำงานแบบ realtime คือ

ขายไป หรือ ส่งคืนซัพพลายเออร์ = สต็อกตัดทันที

ซื้อเข้า หรือ รับคืนจากลูกค้า = สต็อกเพิ่มทันที

โดยจะมีระบบ “สต็อกการ์ด” มาแสดงผลการเข้าออก

 

สต็อกการ์ด

 

จุดสั่งซื้อ

ของตัวไหนใกล้จะหมด ต้องตั้งค่าที่ “ข้อมูลสินค้า”

 

จุดสั่งซื้อ

 

และตรวจดูที่ “รายงานสินค้าถึงจุดสั่งซื้อ”

 

รายงานถึงจุดสั่งซื้อ

ต้นทุน

การเริ่มต้นใช้งานครั้งแรก admin (เจ้าของ)

ใส่ราคาทุนของสินค้าเองทุกตัวที่ข้อมูลสินค้า

และตรวจสอบได้จากประวัติราคาทุน

01ใส่ต้นทุนเอง

 

ต่อมาเวลาซื้อสินค้าเข้า

 

02ซื้อเข้า

 

โปรแกรมจะคำนวนต้นทุนแบบ

“ถัวเฉลี่ย” ให้ทันที

 

03ทุนใหม่

 

แต่บางร้านชอบวิธีคิดแบบใช้

“ต้นทุนล่าสุด” ตามบิลซื้อล่าสุด

ก็ตั้งค่าเลือกได้

 

04ตั้งค่าต้นทุนล่าสุด

 

*** ไม่มีการคำนวนแบบ FIFO

(เข้าก่อนออกก่อน) แบบโปรแกรมบัญชีครับ ***

 

สำหรับร้านอลูมิเนียมกระจกที่ใช้ต้นทุนแบบ ถัวเฉลี่ย

โปรแกรมจะมีระบบเพิ่มเติมให้

ลูกน้อง (user)

 

05เพิ่มuser

 

ช่วยคีย์บิลซื้อที่มีแต่ชื่อและจำนวน ( ไม่มีต้นทุนมา)

 

06userบันทึกราคา0บาท

 

เพื่อให้เข้าสต็อก (ใส่ราคาซื้อเป็น 0 บาท)

หลังจากนั้น เจ้าของ (admin) จะเรียกบิลซื้อมาแก้ไข

ระบบก็จะคำนวนต้นทุนให้ทันที

( แต่ดึงบิลทำได้ครั้งเดียวนะ

หากทำผิดก็ให้ไปแก้ไขที่ข้อมูลสินค้าแทนครับ)

 

กำไร

จะใช้รายงานเพื่อดูกำไร

1.จากแต่ละบิลขาย  ( บางทีเผลอลดมากไปกำไรน้อย หรือ ขาดทุนบางตัว )

 

01แยกตามบิลขาย

2.แยกตามลูกค้า

02แยกตามลูกค้า

 

3.แยกตามสินค้า

 

03แยกตามสินค้า

 

4.จากผลการดำเนินงาน

 

04ผลดำเนินงาน

 

ค่าใช้จ่าย

“เฮียขอเบิกค่าแรงก่อนพันนึง”

“ค่าซ่อมรถ ค่าน้ำมัน”

“ค่าน้ำไฟเนตโทร.

ของมันต้องบันทึกกันเพื่อให้รู้ยอดชัดๆ

 

01บันทึก

 

ว่าแต่ละเดือนจ่ายไปเท่าไร  สรุปกันให้เห็นๆ

 

02รายงานค่าใช้งาน

ภาษี

ในโปรแกรมร้านอลูมิเนียมกระจก

” ไม่มีระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม”

จะมีโปรแกรมย่อยมาเสริม คือ โปรแกรม INV Controller

1.ดึงบิลขายมาออกใบกำกับภาษีเต็มรูป

โดยเลือกบิลขาย

00เลือกบิลขาย

 

เลือกถอดแวทหรือบวกเพิ่ม  และ ใบเสร็จหรือใบส่งของ/ใบกำกับภาษี ได้

 

01แวทเต็มรูป

 

ตัวอย่าง ใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี เต็มรูป

 

02บิลแวทเต็มรูป

การออกบิลแวทอย่างย่อ

จะเลือกลูกค้าทั่วไป โดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นเลข 0

 

03แวทอย่างย่อ

 

ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใช้กระดาษ A4 พิมพ์เหมือนเต็มรูป

 

04บิลแวทอย่างย่อ

 

2.บันทึกภาษีซื้อ

ดึงบิลซื้อจากโปรแกรมอลูมิเนียมกระจก ขึ้นมาแล้วบันทึก

 

05บิลซื้อ

 

3.สรุปรายงานภาษีซื้อขายเพื่อนำส่งบัญชี

 

ภาษีขายเต็มรูป

 

ภาษีขายเต็มรูป

ภาษีขายอย่างย่อ

ภาษีขายอย่างย่อ

ภาษีซื้อ

ภาษีซื้อ

การขายกระจก

ซื้อกระจกใส 3 มิล ขนาด 84×96  มาตัดขายได้ทุกขนาดที่ลูกค้าต้องการ

48×48 , 60×84 , 48×96 , 84×84 , 36×72 , 36×84 , …

ประเด็นคือ เมื่อคุณตัดขายแล้ว “ต้องไปสร้างรหัสสินค้า”

ของขนาดกระจกที่เหลือเองครับ

โปรแกรมยังไม่ได้พัฒนาให้เลือกขนาดเศษได้อัตโนมัติ

 

 

วิดีโอสอนการใช้งาน

 

 

อุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับโปรแกรม

 

1.คอมพิวเตอร์

หากมีอยู่แล้วให้ใช้คอมที่มีไปก่อน

หรือ หากซื้อใหม่ก็เป็นคอมที่ขายทั่วไป

ราคาไม่เกิน 17,000 บาท

 

 

 

 

 

 

 

2.เครื่องสำรองไฟ ( ups )

*** ต้องมี***

ขนาด 800 – 1,000 va ราคาไม่เกิน 1,700 บ.

 

ups

ups

 

 

 

 

 

 

 

 

3.เครื่องพิมพ์ DotMatrix 

ใช้ยี่ห้อ Epson LQ310

เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็มกระแทก ยี่ห้อ Epson LQ310

เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็มกระแทก ยี่ห้อ Epson LQ310

 

 

 

 

 

 

 

 

4.กระดาษต่อเนื่องขนาด 9×11 “

เป็นกระดาษที่มีสำเนาใน ขนาดใกล้เคียงกับ A4
แบบ 2 ชั้น คือ 1 ตัวจริง 1 สำเนา
แบบ 3 ชั้น คือ 1 ตัวจริง 2 สำเนา

 

5.เครื่องพิมพ์สติกเกอร์บาร์โค้ด สำหรับร้านที่ต้องการ

แนะนำยี่ห้อ Godex rt700i เท่านั้น

ราคาไม่เกิน 15,000 บาท

 

6.เครื่องสแกนบาร์โค้ด

แนะนำยี่ห้อ Symbol LS2208

ราคาไม่เกิน 3,500 บาท

symbol ls2208

 

 

 

 

 

 

 

การรับประกัน

ซอฟต์แวร์รับประกันตลอดอายุสายการผลิตและจำหน่าย

 

การติดตั้งระบบและฝึกอบรมการใช้งาน

1.แบบรีโมทผ่านอินเตอร์เนต

1.1 จะใช้โปรแกรมทีมวิวเวอร์ ( teamviewer ) เพื่อส่งไฟล์และติดตั้ง
1.2 ลูกค้าจะศึกษาการใช้งานผ่าน  คู่มือ , วิดีโอสาธิต และ โทร.สอบถามเป็นจุดๆ

teamviewer

 

 

 

2.แบบไปถึงที่

จะมีค่าใช้จ่าย 3 ส่วน
1.ค่าติดตั้งระบบ 500 -1,000 บาท ขึ้นกับจำนวนเครื่องและอุปกรณ์
2.ค่าฝึกอบรมการใช้งาน 1 วัน ( 5-7 ชม.) = 4,500 บาท
3.ค่าเดินทาง/ที่พัก จะขึ้นกับระยะทาง ต้องขอให้สอบถามเพิ่มเติมครับ

การให้บริการหลังการขาย

1.โทร.แจ้งปัญหาหรือสอบถาม ฝ่าย it-support

086-671-7177
097-987-0837
095-753-3046
053-499-157

2.แชทผ่าน Line Official Account

line oa

3.รีโมทผ่าน teamviewer

 

 

ลูกค้าที่ใช้งาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • บริษัท เกตุแก้วอลูมินั่ม จำกัด
    อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู มกราคม 2565
  • หจก.บีพลัส กระจก อลูมิเนียม
    อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด มกราคม 2565
  • หจก.คาราวานกระจกอลูมิเนียม
    อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ตุลาคม 2565

 

 

 

 

 

 

 

Loading